วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ตัวอย่างการเขียนบทสารคดี

บทสารคดีทางวิทยุกระจายเสียง

รายการสารคดี

เรื่อง  เล่าเรื่องเมืองไทย ตอน Travel inThai

เขียนบทโดย น.ส. ปุณณดา อภิรติธรรม

ระยะเวลาออกอากาศทั้งหมด 9.30 นาที
วัตถุประสงค์ของเรื่อง

1. เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย
2. เพื่อแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว
กลุ่มผู้ฟังเป้าหมายหลัก
-ประชาชนทั่วไป
เค้าโครงของเรื่อง
เพลงจิงเกิ้ลรายการ เปิดรายการ
15 วินาที
เปิดเพลง ไปเที่ยวกัน
นาที
ผู้ดำเนินรายการพูดเปิดรายการ
1.30 นาที
เพลงคั่น
5 วินาที
ผู้ดำเนินรายการนำเสนอเนื้อหาให้แก่ผู้ฟัง
3.30 นาที
เพลงคั่น
วินาที
ผู้ดำเนินรายการพูดปิดรายการ
50 วินาที
จิงเกิ้ลรายการ ปิดรายการ
15 วินาที

บทสารคดี เล่าเรื่องเมืองไทย ตอน Travel in Thai

F/I จิงเกิ้ลประจำรายการ เปิดรายการ F/O 15 วินาที
F/I เพลง ไปเที่ยวกัน F/O 3 นาที
ผู้ดำเนินรายการ 1.30 นาที

สวัสดีคะ ยินดีต้อนรับเข้าสู่รายการ เล่าเรื่องเมืองไทย เสียงใสใสที่ท่านผู้ฟังได้ยินอยู่ขณะนี้คือเสียงของดีเจญี่ปุ่น ปุณณดา อภิรติธรรม และเมื่อสักครู่เพลงที่จบไปคือเพลง ไปเที่ยวกันท่านผู้ฟังคะถ้าพูดถึงเมืองไทยเราจะนึกถึงอะไร หลายคนก็บอกว่านึกถึงรอยยิ้มของคนไทย นึกถึงศิลปะ ประเพณีหรือวัฒนธรรม ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ หรือไม่ก็จะนึกถึงรสชาติอาหารที่แซ่บถึงใจ แต่บางคนก็บอกว่าถ้าพูดถึงเมืองไทยจะขาดเรื่องนี้ไปไม่ได้เลย ซึ่งนั้นก็คือเรื่องการท่องเที่ยวในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นชาวต่างชาติหรือคนไทยต่างก็บอกกันเป็นเสียงเดียวกันว่า ประเทศไทยของเรานั้นมีธรรมชาติและสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามมากไม่แพ้ที่ใดในโลกเยอะนะคะ วันนี้รายการเล่าเรื่องเมืองไทยของเราก็จะขอเสนอตอน travel in thaiรายการของเราก็จะพาท่านผู้ชมไปเที่ยวเมืองไทย โดยดิฉันดีเจญี่ปุ่นขออาสาเป็นไกด์พาเที่ยวในครั้งนี้คะ
F/I เพลงคั่นแบบสนุกสนาน F/O 5 วินาที



ผู้ดำเนินรายการ 3.30 นาที
ประเทศไทยของเรานั้นมีสถานที่ท่องเที่ยวให้เลือกเที่ยวได้หลายแบบ ซึ่งจะมีแบบไหนบ้างนั้นไปติดตามกันเลยคะ
การท่องเที่ยวในแบบแรกขอเอาใจผู้ที่ชอบท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกันคะ การท่องเที่ยวในลักษณะนี้นะคะ จะทำให้เราได้สัมผัสกับวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น ทั้งการใช้ชีวิตและวีถีชีวิตของชาวบ้าน เมืองไทยของเรามีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหลายแห่งเลยนะคะท่านผู้ชม เช่น ตลาดน้ำอัมพวา ตลาดน้ำอโยธยา ตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็นต้นคะ ถ้าท่านผู้ฟังท่านใดชอบจับจ่ายซื้อของ มาเที่ยวตลาดน้ำนี้ดิฉันรับรองไม่ผิดหวังแน่นอนคะ
แล้วสำหรับผู้ฟังท่านไหนที่ชอบศึกษาเรื่องราวในอดีต ดิฉันขอแนะนำการท่องเที่ยวเชิงโบราณคดีคะ เมืองไทยของเราเป็นเมืองเก่าจึงมีสถานที่ท่องเที่ยวโบราณสถานหลายแห่ง เช่น ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีคะ
และท่านผู้ฟังบางท่านอาจบอกว่าชอบเที่ยวแบบสัมผัสธรรมชาติ เล่นน้ำทะเล ชมทุ่งดอกไม้หรือเล่นน้ำตก รายการของเราก็ไปสรรหาสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติตั้งแต่เหนือจรดใต้เลยมาฝากท่านผู้ฟังกันเลยนะคะ ถ้าท่านผู้ฟังท่านใดชอบหาดทรายแสนสวยและน้ำทะเลใสสะอาดต้องเป็นหาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ตเลยคะ แต่บางท่านอาจบอกว่าชอบป่าเขามากกว่าดิฉันขอแนะนำภูกระดึง จังหวัดเลยคะ แต่ถ้าเป็นน้ำตกต้องเป็นน้ำตกทีลอซู จังหวัดตากคะ เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวเป็นอยากมากอีกด้วยคะ
แล้วถ้าท่านผู้ฟังยังบอกว่าท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมยังไม่ใช่ เชิงโบราณคดียังไม่ชอบ เชิงธรรมชาติก็ยังไม่โดน ชอบเที่ยวแบบผจญภัยนี้แหละเป็นเรามากที่สุด ทางรายการเล่าเรื่องเมืองไทยก็ไม่ทอดทิ้งท่านคะ เราจะพาท่านผู้ฟังไปเที่ยวแบบผจญภัยกันคะ ถ้าชอบปีนเขา ชอบทำกิจกรรมแบบ Adventure เราขอแนะนำให้ไปที่ ไร่ทองสมบูรณ์คลับ จังหวัดนครราชสีมา เราสามารถทำกิจกรรมที่สนุกสนานได้หลายอย่างเช่น ขี่ม้า ยิงปืนเป้านิ่ง สกีบก ขับรถเอทีวี ดิฉันขอรับรองได้เลยว่าผู้ที่ชอบการท่องเที่ยวแบบผจญภัยจะต้องไม่ผิดหวังแน่นอนคะ
F/I เพลงคั่นแบบสนุกสนาน F/O 5 วินาที
ผู้ดำเนินรายการ 50 วินาที
และแล้วเวลาก็เดินมาจนถึงช่วงสุดท้ายนี้แล้ว เห็นไหมค่ะท่องเที่ยวไทยถ้าไม่ไปเราไม่รู้ ดิฉันก็อยากจะเชิญชวนให้คนไทยหันมาท่องเที่ยวในประเทศไทยกัน เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้น ประเทศของเราก็จะเจริญก้าวหน้า และช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติเหล่านี้ให้สวยงามตลอดไป เพื่อเป็นมรดกให้กับลูกหลานของเรา สำหรับวันนี้รายการเล่าเรื่องเมืองไทยของเราก็ได้หมดเวลาลงแล้ว ดิฉันดีเจญี่ปุ่นต้องขอลาไปก่อนคะ พบกันใหม่สัปดาห์หน้า สวัสดีคะ
F/I จิงเกิ้ลประจำรายการ ปิดรายการ F/O 15 วินาที


ที่มา : http://yeepoonjung.blogspot.com/2010/10/t-ravel-in-thai.html

จุดมุ่งหมายในการเขียนสารคดี


จุดมุ่งหมายในการเขียนสารคดี

จุดมุ่งหมายที่ผู้เขียนควรพิจารณามีอยู่ 4 ประการคือ

1.ให้ความรู้ ข้อเท็จจริง และเนื้อหาสาระแก่ผู้อ่าน ผู้เขียนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียนอย่างละเอียดและลึกซึ้ง

2.ให้คำแนะนำแก่ผู้อ่านในการนำไปปฏิบัติได้จริง ผู้เขียนสารคดีจะต้องมีความรู้อย่างละเอียด และมีความชำนาญในการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องที่เขียนด้วย เพื่อจะได้คำแนะนำแก่ผู้อ่านโดยถูกวิธี และถูกขั้นตอน

3.ให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่าน ผู้เขียนจะต้องทำให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินด้วย วิธีจะให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก ผู้เขียนสารคดีจะต้องมีความสามารถเฉพาะตัวด้วยประการต่างๆ เช่น การใช้สำนวนภาษาที่ชวนให้ผู้อ่านมีความสนุกสนาน หรือใช้สำนวนภาษาที่มำให้ผู้อ่านมีความคิดเห็นคล้อยตามอยู่ตลอดเวลา และได้รับความรู้โดยไม่รู้ตัว

4.ให้ความจรรโลงใจแก่ผู้อ่าน ผู้เขียนสารคดีจะต้องพิจารราถึงเรื่องที่จะเขียนว่าเป็นเรื่องที่ดีสร้างสรรค์เพียงใด หรือจะส่งผลกระทบต่อสังคมในแง่ใดบ้าง

สรุปได้ว่า จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการเขียนสารคดี คือ ให้ความรู้ข้อเท็จจริง และเนื้อหาสาระแก่ผู้อ่าน นอกจากนี้ยังให้คำแนะนำในการปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ ให้ความเพลิดเพลิน และให้ความจรรโลง


ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/331335

ลักษณะของบทความที่ดี

ลักษณะของบทความที่ดี
บทความที่ดีควรมีลักษณะ 4 ประการ ดังนี้
1.มีเอกภาพ กล่าวคือ เนื้อหาของบทความมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีทิศทางของเนื้อหาเป็นไปในทางเดียวกัน เพื่อมุ่งสู่ประเด็นหลักที่ต้องการนำเสนอ
2.มีสารัตถภาพ กล่าวคือ ผู้เขียนต้องเน้นย้ำประเด็นสำคัญให้ชัดเจนว่าต้องการนำเสนอแนวคิดสำคัญอะไร ด้วยประโยคใจความสำคัญ หรือสาระสำคัญที่โดดเด่น เนื้อความตลอดเรื่องควรกล่าวย้ำประเด็นหลักของเรื่องเสมอๆ
3.มีสัมพันธภาพ กล่าวคือ มีความต่อเนื่องสัมพันธ์กันโดยตลอด ทั้งในด้านการเรียบเรียงถ้อยคำ ข้อความ และการจัดลำดับเรื่อง ทุกประโยคในแต่ละย่อหน้า และทุกย่อหน้าในแต่ละเรื่องต้องเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ด้วยการใช้คำเชื่อมข้อความ ได้แก่ คำบุพบท เช่น กับ แต่ แด่ เพื่อ คำสันธาน เช่น และ รวมทั้ง ตลอดจน นอกจากนี้ คำประพันธสรรพนาม เช่น ที่ ซึ่ง อัน เป็นต้น
4.มีความสมบูรณ์  กล่าวคือ มีความสมบูรณ์ในด้านเนื้อหา มีเนื้อความชัดเจนกระจ่างแจ้ง อธิบายได้ครอบคลุมความคิดหลักที่ต้องการนำเสนอ ข้อมูลที่นำเสนอเป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง หากเป็นความคิดเห็นต้องมีความสมเหตุสมผล นอกจากนี้ต้องมีความสมบูรณ์ด้านการใช้ภาษา คือ ต้องเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายการเขียน  ประเภทของบทความ เนื้อหาบทความ และกลุ่มผู้อ่าน นั่นเอง

ที่มา : http://courseware.payap.ac.th/docu/th203/content/aticle.htm

ประเภทของบทความ

ประเภทของบทความ
เมื่อแบ่งตามเนื้อหา บทความจะแบ่งได้เป็น 11 ประเภท ได้แก่
1.  บทบรรณาธิการ เป็นบทความแสดงความคิดเห็นลักษณะหนึ่งที่เขียนขึ้นเพื่อเสนอแนวคิดหลักของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นๆ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
2.  บทความสัมภาษณ์  เป็นบทความที่เขียนขึ้นจากการสัมภาษณ์บุคคลเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่อง หรือเกี่ยวกับชีวิตของบุคคลนั้น หรือจากการสัมภาษณ์บุคคลหลายคนในหัวข้อเดียวกัน
3. บทความแสดงความคิดเห็นทั่วๆ ไป มีเนื้อหาหลายลักษณะ เช่น หยิบยกปัญหา เหตุการณ์ หรือเรื่องที่ประชาชนสนใจมาแสดงความคิดเห็น หรือผู้เขียนเสนอความคิดเห็นสนับสนุน หรือคัดค้าน หรือทั้งสนับสนุนและคัดค้านความคิดเห็นในเรื่องเดียวกันของคนอื่นๆ เป็นต้น
4.  บทความวิเคราะห์  เป็นบทความแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่งซึ่งผู้เขียนจะพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เผยแพร่มาแล้วอย่างละเอียด โดยแยกแยะให้เห็นส่วนต่างๆ ของเรื่องนั้น ผู้เขียนเสนอความคิดและวิเคราะห์เหตุการณ์เรื่องราวนั้นอย่างละเอียด แสดงข้อเท็จจริง เหตุผล เพื่อให้ผู้อ่านได้ความรู้ ความคิดเห็นเพิ่มเติม เกิดความคิดที่ชัดเจนยิ่งขึ้น แบ่งเป็น บทความวิเคราะห์ข่าว และบทความวิเคราะห์ปัญหา
5.  บทความวิจารณ์  เขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นในเชิงวิจารณ์เรื่องราวที่ต้องการวิจารณ์ด้วยเหตุผลและหลักวิชาเป็นสำคัญ เช่น บทบรรณนิทัศน์ซึ่งแสดงความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือที่พิมพ์ออกใหม่ เพื่อแนะนำหนังสือ บทวิจารณ์วรรณกรรมแสดงความคิดเห็นเชิงวิจารณ์และประเมินค่าโดยใช้หลักวิชาและเหตุผล เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักวรรณกรรมเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง และ บทวิจารณ์ศิลปะแขนงอื่นๆซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับบทวิจารณ์วรรณกรรมแต่นำผลงานที่เป็นศิลปะแขนงอื่นๆ เช่น ภาพยนตร์ ละคร ภาพเขียน ดนตรี มาวิจารณ์
6.   บทความสารคดีท่องเที่ยว  มีเนื้อหาแนวบรรยาย เล่าเรื่องเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ที่มีทัศนียภาพสวยงามหรือมีความสำคัญในด้านต่างๆ เพื่อแนะนำให้ผู้อ่านรู้จักสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ชักชวนให้สนใจไปพบเห็นสถานที่นั้นๆ
7.  บทความกึ่งชีวประวัติ  เป็นการเขียนบางส่วนของชีวิตบุคคลเพื่อให้ผู้อ่านทราบ โดยเฉพาะคุณสมบัติ หรือผลงานเด่นที่ทำให้บุคคลนั้นมีชื่อเสียง ประสบความสำเร็จในชีวิต เพื่อชื่นชม ยกย่อง เจ้าของประวัติ และชี้ให้ผู้อ่านได้แง่คิดเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จ
8.  บทความครบรอบปี  มีเนื้อหาแนวบรรยาย เล่าเรื่อง เกี่ยวกับเรื่องราว เหตุการณ์ พิธีการในเทศกาลหรือวันสำคัญ เช่น วันสำคัญทางศาสนา ทางประวัติศาสตร์ ทางวัฒนธรรม  เกี่ยวกับบุคคลสำคัญ เป็นต้น ที่ประชาชนสนใจเมื่อโอกาสนั้นมาถึง เช่น  วันวิสาขบูชา วันคริสต์มาส
เป็นต้น
9.  บทความให้ความรู้ทั่วไป  ผู้เขียนจะอธิบายให้ความรู้คำแนะนำในเรื่องทั่วๆ ไปที่ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น มารยาทการเข้าสังคม การแต่งกายให้เหมาะแก่กาลเทศะและบุคลิกภาพ เคล็ดลับการครองชีวิตคู่ เป็นต้น
10.  บทความเชิงธรรมะ  จะอธิบายข้อธรรมะให้ผู้อ่านทั่วๆ ไปเข้าใจได้ง่าย หรือให้คติ ให้แนวทางการดำเนินชีวิตตามแนวพุทธศาสนา เสนอหนทางแก้ปัญหาตามแนวพุทธปรัชญา ปัจจุบันบทความลักษณะนี้มีมากขึ้น เพื่อให้ผู้อ่านมีแนวทางการดำเนินชีวิตในสังคมที่วิกฤตได้อย่างปกติสุขมากขึ้น

11.  บทความวิชาการ  มีเนื้อหาแสดงข้อเท็จจริง ข้อความรู้ทางวิชาการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะ ผู้เขียนอาจจะเสนอเฉพาะเนื้อหาสาระทางวิชาการหรือเสนอทั้งเนื้อหาสาระข้อเท็จจริง และแสดงความคิดเห็นในเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์ก็ได้ หรืออาจเสนอผลการวิจัย

ที่มา : http://courseware.payap.ac.th/docu/th203/content/aticle.htm

การใช้ภาษาในการเขียนบทความ

การใช้ภาษาในการเขียนบทความ
การใช้ภาษาในการเขียนบทความควรพิจารณาใน ประเด็น ได้แก่
1.  ระดับภาษา
การเขียนบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ควรพิจารณาใช้ระดับภาษาทั้ง 4 ระดับ ได้แก่ ภาษาปาก ภาษาไม่เป็นทางการ ภาษากึ่งทางการ และภาษาทางการ โดยผู้เขียนจะต้องเลือกใช้ระดับภาษาให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายของผู้เขียน ประเภทของบทความ เนื้อหา และกลุ่มผู้อ่านเช่น กรณีที่เขียนบทความแสดงความคิดเห็นทั่วๆ ไป บทความวิเคราะห์ข่าว บทความวิเคราะห์ ควรใช้ภาษาพูดในระดับไม่เป็นทางการ จนถึงภาษาพูดและภาษาเขียนระดับกึ่งทางการ หากมีบางตอนหรือบางข้อความที่ต้องการแสดงอารมณ์ ประชดประชัน เหน็บแนม อย่างชัดเจน อาจจะใช้ภาษาพูดระดับภาษาปาก ที่ไม่หยาบคายก็ได้
กรณีเขียนบทความให้ความรู้ทั่วไป บทความสารคดีท่องเที่ยว ควรใช้ภาษาพูดในระดับภาษาปาก เพื่อให้เกิดความเป็นกันเองกับผู้อ่าน จูงใจให้ผู้อ่านอยากอ่านและปฏิบัติตามคำแนะนำ หรืออาจจะใช้ภาษาพูดในระดับไม่เป็นทางการ หรือกึ่งทางการ ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของบทความ และกลุ่มผู้อ่านอีกด้วย
กรณีเขียนบทความสัมภาษณ์ ควรใช้ภาษาให้เหมาะสมกับผู้ให้สัมภาษณ์ และเรื่องราวที่สัมภาษณ์ รวมทั้งกลุ่มผู้อ่าน ผู้เขียนจึงสามารถเลือกใช้ระดับภาษาได้ตั้งแต่ ภาษาพูดระดับภาษาปาก จนถึงภาษาเขียนระดับทางการ
กรณีเขียนบทความกึ่งชีวประวัติ บทความวิจารณ์วรรณกรรม บทความวิจารณ์ศิลปะแขนงอื่นๆ ซึ่งต้องการความน่าเชื่อถือ และให้เกียรติแก่งานวรรณกรรมหรือศิลปะ จึงควรใช้ภาษาระดับกึ่งทางการ จนถึงภาษาในระดับทางการ
กรณีเขียนบทความเชิงธรรมะ และเชิงวิชาการ ควรใช้ภาษาเขียนกึ่งทางการจนถึงระดับทางการ เพื่อให้เกิดความชัดเจน น่าเชื่อถือ
อย่างไรก็ตาม หากผู้เขียนต้องการสร้างเอกลักษณ์ หรือลีลาการเขียนเฉพาะตน ก็สามารถเลือกใช้ระดับภาษาได้ตามความต้องการของตนเอง
2.  โวหาร
กรณีเขียนบทความแสดงความคิดเห็นทั่วไป บทความวิเคราะห์ข่าว บทความวิเคราะห์ปัญหา ควรใช้บรรยายโวหารเป็นหลัก มีโวหารประกอบ เช่น อุปมาโวหาร สาธกโวหาร เทศนาโวหาร เป็นต้น เพื่อแสดงเหตุผลโน้มน้าวใจผู้อ่าน
กรณีเขียนบทความให้ความรู้ทั่วไป ควรเลือกใช้บรรยายโวหารเป็นหลัก มีโวหารประกอบได้แก่ สาธกโวหาร เพื่อให้เกิดความชัดเจนแจ่มแจ้ง
กรณีเขียนบทความสารคดีท่องเที่ยว บางตอนควรเลือกใช้พรรณนาโวหาร เพื่อให้เห็นความงดงามของทัศนียภาพ นอกเหนือจากการใช้บรรยายโวหาร ส่วนโวหารประกอบได้แก่ อุปมาโวหาร สาธกโวหาร กรณีที่ต้องการเล่าเกร็ดความรู้ ตำนาน นิทานต่างๆ ประกอบสถานที่
กรณีเขียนบทความสัมภาษณ์ บทความกึ่งชีวประวัติ บทความวิจารณ์วรรณกรรม หรือศิลปะแขนงอื่นๆ  บทความวิชาการ ควรเลือกใช้บรรยายโวหารเป็นโวหารหลัก ส่วนโวหารประกอบได้แก่ สาธกโวหาร
กรณีเขียนบทความเชิงธรรมะ ควรเลือกใช้บรรยายโวหารเป็นโวหารหลัก ส่วนโวหารประกอบได้แก่ เทศนาโวหาร อุปมาโวหาร และสาธกโวหาร
3.  ภาพพจน์
การเขียนบทความควรเลือกใช้ภาพพจน์เพื่อสร้างภาพให้เกิดในความคิด ตลอดจนเพื่อก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ หรือความรู้สึกของผู้อ่าน รวมทั้งแสดงอารมณ์ ความรู้สึกอย่างแท้จริงของผู้เขียน ภาพพจน์จะทำให้งานเขียนมีอรรถรสมากขึ้น และแสดงลีลาการเขียนของผู้เขียนแต่ละคน บทความทุกชนิดสามารถใช้ภาพพจน์ได้ตามความเหมาะสม เช่น
บทความแสดงความคิดเห็นทั่วไป บทความวิเคราะห์ข่าว บทความวิเคราะห์ปัญหา มักจะใช้การอุปมา อุปลักษณ์ ปฏิภาคพจน์ อติพจน์ ปฏิปุจฉา นามนัย เป็นต้น
บทความสารคดีท่องเที่ยว มักจะเลือกใช้ภาพพจน์เช่น อุปมา อุปลักษณ์ บุคลาธิษฐาน อติพจน์ สัญลักษณ์ เป็นต้น
ส่วนบทความชนิดอื่นๆ มักจะเลือกใช้การอุปมา อุปลักษณ์ ปฏิปุจฉา เป็นต้น แต่บทความวิชาการมักจะไม่ใช้ภาพพจน์ในการเขียนบทความประเภทนี้ เพราะต้องการแสดงข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา ชัดเจน มากกว่าจะให้เกิดภาพ หรืออรรถรส


ที่มา : http://courseware.payap.ac.th/docu/th203/content/aticle.htm

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การเตรียมเขียนสารคดี

การเตรียมเขียนสารคดี
1. เตรียมแนวคิด
  -สร้างแนวคิดจากการอ่าน
  -สร้างแนวคิดจากผู้คน
  -ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลสำคัญ
   -จำกัดขอบเขตความคิดให้แคบ
   -จัดระบบความคิดอย่างเป็นขั้นตอน
2. เลือกประเด็นเรื่องทีจะเขียน
   -อาจเป็นปัญหาหรือไม่ก็ได้ อาจเกิดจากเรื่องสะเทือนใจ ความประทับใจ การยกย่องและต้องการเผยแพร่ หรือมุ่งให้ความรู้รอบด้านเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ
   -อยู่ในความสนใจของเรา
   -ประเด็นไม่กว้างหรือแคบเกินไป
   -มีผลกระทบต่อสังคมหรือไม่
3. การเตรียมข้อมูล
   -ข้อมูลคือหัวใจสำคัญของสารคดีเพราะสารคดีมุ่งเสนอข้อเท็จจริงและความรู้เป็นหลัก สารคดีอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ดังนั้นข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญในการเขียนสารคดี 

   -ได้ข้อมูลมาจากเอกสาร ภาคสนาม การฟัง การอ่าน การสังเกต การสัมภาษณ์

ขั้นตอนการเขียนบทสารคดี

ขั้นตอนการเขียนบทสารคดี
 1. หาข้อมูลในเรื่องที่ต้องการทำก่อน  หาข้อมูลในแนวที่เราจะทำ เขาเรียกทำการบ้าน หลายคนไม่ทำการบ้านไปตายเอาดาบหน้า คือไปสัมภาษณ์สถานที่จริง แล้วจับประเด็นตรงนั้นเลย ถามว่าทำได้ไหมทำได้  ไม่ผิดกติกา มีบางครั้งที่เมื่อไปถึง ผู้จะไปสัมภาษณ์กลับถูกสัมภาษณ์เสียเอง คือผู้ที่จะให้สัภาษณ์ถามทีมงานว่า 
      -ก่อนจะมาที่นี่รู้อะไรเกี่ยวกับตัวผมบ้าง หรือขอดูสมุดที่คุณจดอยู่ว่ามีเนื้อหาอะไรบ้างถ้าผู้ให้สัมภาษณ์เป็นปราชญ์มีความรู้ระดับครู เขาอาจไล่ตะเพิดคุณออกจากบ้านเดี๋ยวนั้นเลย ถือว่าคุณไม่ให้เกียรติคนถูกสัมภาษณ์ ไม่ทำการบ้านมาแล้วจะเอาอะไรมาถาม รวมถึงงานที่เสร็จ จะออกมาดีได้อย่างไร?  และอีกอย่าง จะไปสัมภาษณ์ใครต้องน้อบน้อมและสัมมาคาราวะให้มากๆ ที่เขาอุตสาห์สละเวลาอันมีค่ามานั่งให้เราถ่ายทำรายการจะให้เขาทำอะไรพูดจาให้ดี อย่าใช้คำถามเหมือนดูถูก 
2. ไปสถานที่จริงหาข้อมูลจริง ว่าตรงกับที่เรารู้เข้าใจมาหรือไม่? เนื่องจากข้อมูลเดิมที่เราหามาอาจเก่าไปใช้ไม่ได้หรือแหล่งข่าวที่เราค้นคว้า นำเสนอข้อมูลผิดก็ลองสอบถามพูดคุยผู้ถูกสัมภาษณ์ดูว่าตรงไหนใช้ได้หรือไม่ หรือต้องการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมตรงไหน  แล้วก็ปรับจูนข้อมูลเก่าและใหม่ให้เป็นเรื่องเดียวกัน   
3.  เรียงลำดับความสำคัญที่สุด 100% ไล่เลียงไปจนถึงสำคัญน้อยสุด 
  -  สำคัญสุด ควรที่จะให้ผู้สัมภาษณ์พูด รู้ได้อย่างไร วิธีคิดง่ายมาก เนื้อหาประโยคนี้ถ้าผู้ให้สัมภาษณ์พูดเทียบกับเราเป็นคนพูด คิดว่าคนดูจะเชื่อใครมากกว่ากัน ถ้ารู้สึกว่าใครพูดก็ดีไม่สู้ เท่ากับตัวเขาที่พูดเอง ก็ยกช่วงนี้ให้พระเอกไปเสียดีๆอย่าได้เข้าไปแย่งซีนเป็นอันขาด
  -  
สำคัญน้อยสุดควรพูดเอง( เขียนบทเอง) ก็คัดจากเนื้อหาที่เหลือข้างต้น ที่ดูแล้วว่า ใครๆก็พูดได้ แล้วความหมายไม่เสีย
 -  
สำหรับบทของพิธีกรก็เป็นเสมือนตัวแทนทางบ้าน ถามทุกเรื่องที่อยากรู้อยากเห็น ถามนั่นถามนี่ในส่วนที่ตอบไม่ชัดเจน 
     รวมถึงคอยสรุปประเด็นต่างๆให้ทางบ้านได้เข้าใจไม่สับสน

ที่มา: http://www.thaidfilm.com/read.php?tid=16896