วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ขั้นตอนการเขียนบทสารคดี

ขั้นตอนการเขียนบทสารคดี
 1. หาข้อมูลในเรื่องที่ต้องการทำก่อน  หาข้อมูลในแนวที่เราจะทำ เขาเรียกทำการบ้าน หลายคนไม่ทำการบ้านไปตายเอาดาบหน้า คือไปสัมภาษณ์สถานที่จริง แล้วจับประเด็นตรงนั้นเลย ถามว่าทำได้ไหมทำได้  ไม่ผิดกติกา มีบางครั้งที่เมื่อไปถึง ผู้จะไปสัมภาษณ์กลับถูกสัมภาษณ์เสียเอง คือผู้ที่จะให้สัภาษณ์ถามทีมงานว่า 
      -ก่อนจะมาที่นี่รู้อะไรเกี่ยวกับตัวผมบ้าง หรือขอดูสมุดที่คุณจดอยู่ว่ามีเนื้อหาอะไรบ้างถ้าผู้ให้สัมภาษณ์เป็นปราชญ์มีความรู้ระดับครู เขาอาจไล่ตะเพิดคุณออกจากบ้านเดี๋ยวนั้นเลย ถือว่าคุณไม่ให้เกียรติคนถูกสัมภาษณ์ ไม่ทำการบ้านมาแล้วจะเอาอะไรมาถาม รวมถึงงานที่เสร็จ จะออกมาดีได้อย่างไร?  และอีกอย่าง จะไปสัมภาษณ์ใครต้องน้อบน้อมและสัมมาคาราวะให้มากๆ ที่เขาอุตสาห์สละเวลาอันมีค่ามานั่งให้เราถ่ายทำรายการจะให้เขาทำอะไรพูดจาให้ดี อย่าใช้คำถามเหมือนดูถูก 
2. ไปสถานที่จริงหาข้อมูลจริง ว่าตรงกับที่เรารู้เข้าใจมาหรือไม่? เนื่องจากข้อมูลเดิมที่เราหามาอาจเก่าไปใช้ไม่ได้หรือแหล่งข่าวที่เราค้นคว้า นำเสนอข้อมูลผิดก็ลองสอบถามพูดคุยผู้ถูกสัมภาษณ์ดูว่าตรงไหนใช้ได้หรือไม่ หรือต้องการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมตรงไหน  แล้วก็ปรับจูนข้อมูลเก่าและใหม่ให้เป็นเรื่องเดียวกัน   
3.  เรียงลำดับความสำคัญที่สุด 100% ไล่เลียงไปจนถึงสำคัญน้อยสุด 
  -  สำคัญสุด ควรที่จะให้ผู้สัมภาษณ์พูด รู้ได้อย่างไร วิธีคิดง่ายมาก เนื้อหาประโยคนี้ถ้าผู้ให้สัมภาษณ์พูดเทียบกับเราเป็นคนพูด คิดว่าคนดูจะเชื่อใครมากกว่ากัน ถ้ารู้สึกว่าใครพูดก็ดีไม่สู้ เท่ากับตัวเขาที่พูดเอง ก็ยกช่วงนี้ให้พระเอกไปเสียดีๆอย่าได้เข้าไปแย่งซีนเป็นอันขาด
  -  
สำคัญน้อยสุดควรพูดเอง( เขียนบทเอง) ก็คัดจากเนื้อหาที่เหลือข้างต้น ที่ดูแล้วว่า ใครๆก็พูดได้ แล้วความหมายไม่เสีย
 -  
สำหรับบทของพิธีกรก็เป็นเสมือนตัวแทนทางบ้าน ถามทุกเรื่องที่อยากรู้อยากเห็น ถามนั่นถามนี่ในส่วนที่ตอบไม่ชัดเจน 
     รวมถึงคอยสรุปประเด็นต่างๆให้ทางบ้านได้เข้าใจไม่สับสน

ที่มา: http://www.thaidfilm.com/read.php?tid=16896

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น