วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

สรุปองค์ประกอบสารสนเทศ

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
1. ความหมายของระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ (Information System หรือ IS) เป็นระบบพื้นฐานของการทำงานต่างๆ ในรูปแบบของการเก็บ (input) การประมวลผล (processing) เผยแพร่ (output) และมีส่วนจัดเก็บข้อมูล (storage)

2. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
    2.1 ฮาร์ดแวร์ (hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม)แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
    2.2 ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานแบ่งออกได้เป็น
          2.2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software)คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูงนอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
          2.2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่มำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ จำแนกได้เป็น 2 ประเภท
                    2.2.2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Programแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา
                    2.2.2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ เป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเวลามากในการฝึกและปฏิบัติ
     2.3 บุคลากร (Peopleware) หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ
          2.3.1 ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
          2.3.2 นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม
          2.3.3 โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้
          2.3.4 ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
     2.4 ข้อมูล (Dataware) คือ ส่วนที่เป็นข้อมูลต่างๆ ที่บรรจุลงในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ประมวลผลลัพธ์ออกมาตามที่เราต้องการ ซึ่งข้อมูลต่างๆมีค่ามากจำเป็นต้องได้รับการดูแลและเก็บรักษาไว้ เป็นอย่างดี ข้อมูลจะมีหน่วยของข้อมูลที่เล็กที่สุดคือ “ตัวอักขระ”(Character) เมื่อนำตัวอักขระเหล่านี้มาประกอบกันจะทำให้ได้หน่วยข้อมูลที่ใหญ่ขึ้นเรียกว่า “ฟิลด์”(Field) และนำฟิลด์หลาย ๆ ฟิลด์มาประกอบกันจะทำให้ได้สิ่งที่เรียกว่า “เรคคอร์ด”(Record) และถ้านำเรคคอร์ดหลายเรคคอร์ดมาประกอบกันก็จะได้สิ่งที่เรียกว่า “ไฟล์ข้อมูล”(Data File)
     2.5 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (procedure) ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของบุคลากรเมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้ว ต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน


ระบบสารสนเทศนั้นจะประกอบด้วย
- ข้อมูล (Data) หมายถึง ค่าของความจริงที่ปรากฏขึ้น โดยค่าความจริงที่ได้จะนำมาจัดการปรับแต่งหรือประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
- สารสนเทศ (Information) คือ กลุ่มของข้อมูลที่ถูกตามกฎเกณฑ์ตามหลักความสัมพันธ์ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นมีประโยชน์และมีความหมายมากขึ้น
- การจัดการ (Management) คือ การบริหารอย่างเป็นระบบ


ระบบสารสนเทศและ MIS (IS) - หรือการประยุกต์ใช้ภูมิทัศน์ - คือการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) และกิจกรรมของผู้คนว่าด้วยการดำเนินการให้ความช่วยเหลือใด ๆ, การทำการจัดการและการตัดสินใจ ในความหมายที่กว้างมาก


























HTML คืออะไร

HTML(Hyper Text Markup Language) เป็นภาษาหลักในการทำเว็บไซค์ 
เอกสาร HTML อธิบายเว็บเพจ เอกสาร HTML กำหนด HTML Tags เอกสาร HTML กำหนดลักษณะแบบอักษร 
เราอาจเรียกได้ว่า เอกสาร HTML ก็คือ เว็บเพจนั่นเอง 

HTML ย่อมาจาก Hyper Text Markup Language                                             HTML ไม่ใช่ภาษาโปรแกรม แต่เป็น markup language 
markup language คือกลุ่มที่อยู่ใน markup tags 
HTML จะใช้ markup tags ในการอธิบายหน้าเว็บเพจ 

HTML markup tags มักจะถูกเรียกว่า HTML Tags 
HTML Tags เป็นคำที่ถูกล้อมรอบด้วยวงเล็บเหลี่ยม เช่น <html> 
HTML Tags มักจะเป็นคู่เปิด กับคู่ปิด เช่น <b> และ </b> 
ใน HTML Tags คู่หนึ่ง Tags แรกมักจะถูกเรียกว่า แท็กเปิด Tags สุดท้ายมักจะถูกเรียกว่า แท็กปิด 

วัตถุประสงค์ของเว็บบราวเซอร์(web browser) เช่น Internet Explorer, Mozilla Firefox, Chrome และอื่น ๆ ก็คือการอ่านเอกสาร HTML แล้วแสดงออกมาในรูปแบบของเว็บเพจ เว็บบราวเซอร์จะไม่แสดง HTML Tags แต่จะใช้แท็กเหล่านั้นอธิบายและกำหนดสิ่งต่าง ๆ สำหรับเว็บเพจ 

ส่วนประกอบของ HTML Document


เอกสาร HTML แบ่งออกเป็นสองส่วน นั่นคือส่วน head กับส่วน body 
เอกสาร HTML จะต้องประกอบไปด้วยแท็กที่สำคํญด้วยกันอยู่ 3 แท็ก นั่นคือ html, head และ body มีการวางรูปแบบแท็กดังนี้

<html>
 <head>
 </head>
 
 <body>
 </body>
</html>

แท็ก html บ่งบอกว่าเอกสารนี้เป็นเอกสาร HTML 
แท็ก head เป็นส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับส่วนหัวของเอกสารการกำหนดค่าต่าง ๆ และจะต้องอยู่ภายในแท็ก html เพื่อบ่งบอกว่าอยู่ภายในเอกสาร html 
แท็ก body เป็นส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับตัวของเอกสารที่จะแสดงในหน้าเว็บเพจ และจะต้องอยู่ภายในแท็ก html และอยู่หลังแท็ก head 

การสร้างเอกสาร HTML


ในการสร้างเอกสาร HTML สามารถสร้างได้ง่ายดายโดยใช้ Notepad, Dreamweaver, Editplus หรืออื่น ๆ ในที่นี้ผมขอยกตัวอย่างการสร้างโดยทั้งสามโปรแกรมให้ดูคับเริ่มจาก Notepad กันก่อนเลย 

การสร้างเว็จเพจโดย Notepad 

ก่อนอื่นก็เปิด Notepad ขึ้นแล้วแล้วทำการกรอกโค้ดเหล่านี้ไปดังรูป 



เสร็จแล้วทำการเซฟ โดยใช้นามสกุล .html หรือ .htm ก็ได้ดังรูป โดยเปลี่ยน Save as type เป็น All File 



เมื่อเซฟเสร็จเราก็จะได้เอกสาร HTML แล้วง่ายไหมละคับ คราวนี้เราลองมาเปิดดูกันว่าผลลัพธ์จะออกมายังไง 



นี่คือผลลัพธ์จากการทำเอกสาร HTML ของเราเมื่อกี้ 

การสร้างเว็จเพจโดย Editplus 

ทำการเปิดโปรแกรม Editplus ขี้นแล้วแล้วไปที่ File => New => HTML Page ดังรูป 



จะเห็นว่าเมื่อสร้างแล้วจะมีโค้ดมาให้เองโดยอัตโนมัติให้ทำการเปลี่ยนเป็นโค้ดเหมือนรูปด้านล่างก็จะได้เว็บเพจที่แสดงเหมือนกันกับการสร้างด้วย Notepad แล้ว ส่วนโค้ดในส่วนอื่น ๆ ดังแสดงในรูป เช่น doctype, meta tage ไว้ผมจะมาอธิบายใหม่ในวันหลังนะคับ 



เมื่อเสร็จแล้วก็ทำการเซฟ เราก็จะได้เอกสาร HTML อย่างง่าย ๆ แล้วละคับ 

การสร้างเว็จเพจโดย Dreamweaver 

สร้างเอกสารโดยไปที่ File => New หรือกด Ctrl + N จะได้ดังรูปให้เลือก HTML 



เสร็จแล้วกด Creat จะมีโค้ดมาให้ทำการแก้ไขใหม่ดังรูป 



เสร็จแล้วก็ทำการเซฟไฟล์ เราก็จะได้เอกสาร HTML หรือที่เรียกกันว่าเว็บเพจแล้ว

ที่มา: http://www.doesystem.com/18546d147f5039787ec26ee5625872e4/HTML-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.htm

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Responsive Web คืออะไร

Responsive Website เป็นแนวคิดการออกแบบเว็บไซต์เพียงครั้งเดียว แต่สามารถแสดงผลได้บนทุกขนาดของหน้าจอ โดยเว็บไซต์จะตรวจสอบขนาดของอุปกรณ์ และจะปรับขนาด Layout ให้เหมาะสมกับการแสดงผลโดยอัตโนมัติ
ซึ่งแตกต่างจากเว็บไซต์ที่ออกแบบมาตามปกติ โดยไม่ได้ใช้เทคนิค Responsive เมื่อแสดงผลบน Mobile Device จะเป็นเพียงแค่การ ย่อ ขนาด เพื่อให้สามารถแสดงผลได้บนหน้าจอเท่านั้น แต่จะไม่สามารถปรับรูปแบบ หรือ Layout ให้เหมาะสมตามขนาดหน้าจอ
Mashable-responsive-design
ในขณะนี้เว็บที่ได้รับการออกแบบมาโดยใช้เทคนิคการออกแบบเว็บไซต์แบบ Responsive จะสามารถปรับ Layout และ ขนาดของรูปภาพ ให้เหมาะสม ตามขนาดของหน้าจอ ทำให้มี User Experience ที่ดีกว่า
ประโยชน์ของการออกแบบเว็บไซต์แบบ Responsive
  1. แสดงผลได้สวยงาม บนขนาดหน้าจอที่แตกต่าง
  2. ออกแบบเพียงครั้งเดียว แต่สามารถใช้ได้กับขนาดหน้าจอที่หลากหลาย
  3. มี Experience ในการใช้งานที่ดีกว่า ดูข้อมูลได้ง่าย โดยไม่ต้อง Zoom
  4. ประหยัดเวลา และ ค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการทำ 2 เว็บไซต์
  5. ช่วยในเรื่องของการทำ SEO (Search Engine Optimization)                                      ที่มา:http://library.stou.ac.th/blog/?p=6349