วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ตัวอย่างการเขียนบทสารคดี

บทสารคดีทางวิทยุกระจายเสียง

รายการสารคดี

เรื่อง  เล่าเรื่องเมืองไทย ตอน Travel inThai

เขียนบทโดย น.ส. ปุณณดา อภิรติธรรม

ระยะเวลาออกอากาศทั้งหมด 9.30 นาที
วัตถุประสงค์ของเรื่อง

1. เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย
2. เพื่อแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว
กลุ่มผู้ฟังเป้าหมายหลัก
-ประชาชนทั่วไป
เค้าโครงของเรื่อง
เพลงจิงเกิ้ลรายการ เปิดรายการ
15 วินาที
เปิดเพลง ไปเที่ยวกัน
นาที
ผู้ดำเนินรายการพูดเปิดรายการ
1.30 นาที
เพลงคั่น
5 วินาที
ผู้ดำเนินรายการนำเสนอเนื้อหาให้แก่ผู้ฟัง
3.30 นาที
เพลงคั่น
วินาที
ผู้ดำเนินรายการพูดปิดรายการ
50 วินาที
จิงเกิ้ลรายการ ปิดรายการ
15 วินาที

บทสารคดี เล่าเรื่องเมืองไทย ตอน Travel in Thai

F/I จิงเกิ้ลประจำรายการ เปิดรายการ F/O 15 วินาที
F/I เพลง ไปเที่ยวกัน F/O 3 นาที
ผู้ดำเนินรายการ 1.30 นาที

สวัสดีคะ ยินดีต้อนรับเข้าสู่รายการ เล่าเรื่องเมืองไทย เสียงใสใสที่ท่านผู้ฟังได้ยินอยู่ขณะนี้คือเสียงของดีเจญี่ปุ่น ปุณณดา อภิรติธรรม และเมื่อสักครู่เพลงที่จบไปคือเพลง ไปเที่ยวกันท่านผู้ฟังคะถ้าพูดถึงเมืองไทยเราจะนึกถึงอะไร หลายคนก็บอกว่านึกถึงรอยยิ้มของคนไทย นึกถึงศิลปะ ประเพณีหรือวัฒนธรรม ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ หรือไม่ก็จะนึกถึงรสชาติอาหารที่แซ่บถึงใจ แต่บางคนก็บอกว่าถ้าพูดถึงเมืองไทยจะขาดเรื่องนี้ไปไม่ได้เลย ซึ่งนั้นก็คือเรื่องการท่องเที่ยวในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นชาวต่างชาติหรือคนไทยต่างก็บอกกันเป็นเสียงเดียวกันว่า ประเทศไทยของเรานั้นมีธรรมชาติและสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามมากไม่แพ้ที่ใดในโลกเยอะนะคะ วันนี้รายการเล่าเรื่องเมืองไทยของเราก็จะขอเสนอตอน travel in thaiรายการของเราก็จะพาท่านผู้ชมไปเที่ยวเมืองไทย โดยดิฉันดีเจญี่ปุ่นขออาสาเป็นไกด์พาเที่ยวในครั้งนี้คะ
F/I เพลงคั่นแบบสนุกสนาน F/O 5 วินาที



ผู้ดำเนินรายการ 3.30 นาที
ประเทศไทยของเรานั้นมีสถานที่ท่องเที่ยวให้เลือกเที่ยวได้หลายแบบ ซึ่งจะมีแบบไหนบ้างนั้นไปติดตามกันเลยคะ
การท่องเที่ยวในแบบแรกขอเอาใจผู้ที่ชอบท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกันคะ การท่องเที่ยวในลักษณะนี้นะคะ จะทำให้เราได้สัมผัสกับวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น ทั้งการใช้ชีวิตและวีถีชีวิตของชาวบ้าน เมืองไทยของเรามีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหลายแห่งเลยนะคะท่านผู้ชม เช่น ตลาดน้ำอัมพวา ตลาดน้ำอโยธยา ตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็นต้นคะ ถ้าท่านผู้ฟังท่านใดชอบจับจ่ายซื้อของ มาเที่ยวตลาดน้ำนี้ดิฉันรับรองไม่ผิดหวังแน่นอนคะ
แล้วสำหรับผู้ฟังท่านไหนที่ชอบศึกษาเรื่องราวในอดีต ดิฉันขอแนะนำการท่องเที่ยวเชิงโบราณคดีคะ เมืองไทยของเราเป็นเมืองเก่าจึงมีสถานที่ท่องเที่ยวโบราณสถานหลายแห่ง เช่น ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีคะ
และท่านผู้ฟังบางท่านอาจบอกว่าชอบเที่ยวแบบสัมผัสธรรมชาติ เล่นน้ำทะเล ชมทุ่งดอกไม้หรือเล่นน้ำตก รายการของเราก็ไปสรรหาสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติตั้งแต่เหนือจรดใต้เลยมาฝากท่านผู้ฟังกันเลยนะคะ ถ้าท่านผู้ฟังท่านใดชอบหาดทรายแสนสวยและน้ำทะเลใสสะอาดต้องเป็นหาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ตเลยคะ แต่บางท่านอาจบอกว่าชอบป่าเขามากกว่าดิฉันขอแนะนำภูกระดึง จังหวัดเลยคะ แต่ถ้าเป็นน้ำตกต้องเป็นน้ำตกทีลอซู จังหวัดตากคะ เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวเป็นอยากมากอีกด้วยคะ
แล้วถ้าท่านผู้ฟังยังบอกว่าท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมยังไม่ใช่ เชิงโบราณคดียังไม่ชอบ เชิงธรรมชาติก็ยังไม่โดน ชอบเที่ยวแบบผจญภัยนี้แหละเป็นเรามากที่สุด ทางรายการเล่าเรื่องเมืองไทยก็ไม่ทอดทิ้งท่านคะ เราจะพาท่านผู้ฟังไปเที่ยวแบบผจญภัยกันคะ ถ้าชอบปีนเขา ชอบทำกิจกรรมแบบ Adventure เราขอแนะนำให้ไปที่ ไร่ทองสมบูรณ์คลับ จังหวัดนครราชสีมา เราสามารถทำกิจกรรมที่สนุกสนานได้หลายอย่างเช่น ขี่ม้า ยิงปืนเป้านิ่ง สกีบก ขับรถเอทีวี ดิฉันขอรับรองได้เลยว่าผู้ที่ชอบการท่องเที่ยวแบบผจญภัยจะต้องไม่ผิดหวังแน่นอนคะ
F/I เพลงคั่นแบบสนุกสนาน F/O 5 วินาที
ผู้ดำเนินรายการ 50 วินาที
และแล้วเวลาก็เดินมาจนถึงช่วงสุดท้ายนี้แล้ว เห็นไหมค่ะท่องเที่ยวไทยถ้าไม่ไปเราไม่รู้ ดิฉันก็อยากจะเชิญชวนให้คนไทยหันมาท่องเที่ยวในประเทศไทยกัน เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้น ประเทศของเราก็จะเจริญก้าวหน้า และช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติเหล่านี้ให้สวยงามตลอดไป เพื่อเป็นมรดกให้กับลูกหลานของเรา สำหรับวันนี้รายการเล่าเรื่องเมืองไทยของเราก็ได้หมดเวลาลงแล้ว ดิฉันดีเจญี่ปุ่นต้องขอลาไปก่อนคะ พบกันใหม่สัปดาห์หน้า สวัสดีคะ
F/I จิงเกิ้ลประจำรายการ ปิดรายการ F/O 15 วินาที


ที่มา : http://yeepoonjung.blogspot.com/2010/10/t-ravel-in-thai.html

จุดมุ่งหมายในการเขียนสารคดี


จุดมุ่งหมายในการเขียนสารคดี

จุดมุ่งหมายที่ผู้เขียนควรพิจารณามีอยู่ 4 ประการคือ

1.ให้ความรู้ ข้อเท็จจริง และเนื้อหาสาระแก่ผู้อ่าน ผู้เขียนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียนอย่างละเอียดและลึกซึ้ง

2.ให้คำแนะนำแก่ผู้อ่านในการนำไปปฏิบัติได้จริง ผู้เขียนสารคดีจะต้องมีความรู้อย่างละเอียด และมีความชำนาญในการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องที่เขียนด้วย เพื่อจะได้คำแนะนำแก่ผู้อ่านโดยถูกวิธี และถูกขั้นตอน

3.ให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่าน ผู้เขียนจะต้องทำให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินด้วย วิธีจะให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก ผู้เขียนสารคดีจะต้องมีความสามารถเฉพาะตัวด้วยประการต่างๆ เช่น การใช้สำนวนภาษาที่ชวนให้ผู้อ่านมีความสนุกสนาน หรือใช้สำนวนภาษาที่มำให้ผู้อ่านมีความคิดเห็นคล้อยตามอยู่ตลอดเวลา และได้รับความรู้โดยไม่รู้ตัว

4.ให้ความจรรโลงใจแก่ผู้อ่าน ผู้เขียนสารคดีจะต้องพิจารราถึงเรื่องที่จะเขียนว่าเป็นเรื่องที่ดีสร้างสรรค์เพียงใด หรือจะส่งผลกระทบต่อสังคมในแง่ใดบ้าง

สรุปได้ว่า จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการเขียนสารคดี คือ ให้ความรู้ข้อเท็จจริง และเนื้อหาสาระแก่ผู้อ่าน นอกจากนี้ยังให้คำแนะนำในการปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ ให้ความเพลิดเพลิน และให้ความจรรโลง


ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/331335

ลักษณะของบทความที่ดี

ลักษณะของบทความที่ดี
บทความที่ดีควรมีลักษณะ 4 ประการ ดังนี้
1.มีเอกภาพ กล่าวคือ เนื้อหาของบทความมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีทิศทางของเนื้อหาเป็นไปในทางเดียวกัน เพื่อมุ่งสู่ประเด็นหลักที่ต้องการนำเสนอ
2.มีสารัตถภาพ กล่าวคือ ผู้เขียนต้องเน้นย้ำประเด็นสำคัญให้ชัดเจนว่าต้องการนำเสนอแนวคิดสำคัญอะไร ด้วยประโยคใจความสำคัญ หรือสาระสำคัญที่โดดเด่น เนื้อความตลอดเรื่องควรกล่าวย้ำประเด็นหลักของเรื่องเสมอๆ
3.มีสัมพันธภาพ กล่าวคือ มีความต่อเนื่องสัมพันธ์กันโดยตลอด ทั้งในด้านการเรียบเรียงถ้อยคำ ข้อความ และการจัดลำดับเรื่อง ทุกประโยคในแต่ละย่อหน้า และทุกย่อหน้าในแต่ละเรื่องต้องเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ด้วยการใช้คำเชื่อมข้อความ ได้แก่ คำบุพบท เช่น กับ แต่ แด่ เพื่อ คำสันธาน เช่น และ รวมทั้ง ตลอดจน นอกจากนี้ คำประพันธสรรพนาม เช่น ที่ ซึ่ง อัน เป็นต้น
4.มีความสมบูรณ์  กล่าวคือ มีความสมบูรณ์ในด้านเนื้อหา มีเนื้อความชัดเจนกระจ่างแจ้ง อธิบายได้ครอบคลุมความคิดหลักที่ต้องการนำเสนอ ข้อมูลที่นำเสนอเป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง หากเป็นความคิดเห็นต้องมีความสมเหตุสมผล นอกจากนี้ต้องมีความสมบูรณ์ด้านการใช้ภาษา คือ ต้องเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายการเขียน  ประเภทของบทความ เนื้อหาบทความ และกลุ่มผู้อ่าน นั่นเอง

ที่มา : http://courseware.payap.ac.th/docu/th203/content/aticle.htm

ประเภทของบทความ

ประเภทของบทความ
เมื่อแบ่งตามเนื้อหา บทความจะแบ่งได้เป็น 11 ประเภท ได้แก่
1.  บทบรรณาธิการ เป็นบทความแสดงความคิดเห็นลักษณะหนึ่งที่เขียนขึ้นเพื่อเสนอแนวคิดหลักของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นๆ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
2.  บทความสัมภาษณ์  เป็นบทความที่เขียนขึ้นจากการสัมภาษณ์บุคคลเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่อง หรือเกี่ยวกับชีวิตของบุคคลนั้น หรือจากการสัมภาษณ์บุคคลหลายคนในหัวข้อเดียวกัน
3. บทความแสดงความคิดเห็นทั่วๆ ไป มีเนื้อหาหลายลักษณะ เช่น หยิบยกปัญหา เหตุการณ์ หรือเรื่องที่ประชาชนสนใจมาแสดงความคิดเห็น หรือผู้เขียนเสนอความคิดเห็นสนับสนุน หรือคัดค้าน หรือทั้งสนับสนุนและคัดค้านความคิดเห็นในเรื่องเดียวกันของคนอื่นๆ เป็นต้น
4.  บทความวิเคราะห์  เป็นบทความแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่งซึ่งผู้เขียนจะพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เผยแพร่มาแล้วอย่างละเอียด โดยแยกแยะให้เห็นส่วนต่างๆ ของเรื่องนั้น ผู้เขียนเสนอความคิดและวิเคราะห์เหตุการณ์เรื่องราวนั้นอย่างละเอียด แสดงข้อเท็จจริง เหตุผล เพื่อให้ผู้อ่านได้ความรู้ ความคิดเห็นเพิ่มเติม เกิดความคิดที่ชัดเจนยิ่งขึ้น แบ่งเป็น บทความวิเคราะห์ข่าว และบทความวิเคราะห์ปัญหา
5.  บทความวิจารณ์  เขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นในเชิงวิจารณ์เรื่องราวที่ต้องการวิจารณ์ด้วยเหตุผลและหลักวิชาเป็นสำคัญ เช่น บทบรรณนิทัศน์ซึ่งแสดงความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือที่พิมพ์ออกใหม่ เพื่อแนะนำหนังสือ บทวิจารณ์วรรณกรรมแสดงความคิดเห็นเชิงวิจารณ์และประเมินค่าโดยใช้หลักวิชาและเหตุผล เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักวรรณกรรมเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง และ บทวิจารณ์ศิลปะแขนงอื่นๆซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับบทวิจารณ์วรรณกรรมแต่นำผลงานที่เป็นศิลปะแขนงอื่นๆ เช่น ภาพยนตร์ ละคร ภาพเขียน ดนตรี มาวิจารณ์
6.   บทความสารคดีท่องเที่ยว  มีเนื้อหาแนวบรรยาย เล่าเรื่องเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ที่มีทัศนียภาพสวยงามหรือมีความสำคัญในด้านต่างๆ เพื่อแนะนำให้ผู้อ่านรู้จักสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ชักชวนให้สนใจไปพบเห็นสถานที่นั้นๆ
7.  บทความกึ่งชีวประวัติ  เป็นการเขียนบางส่วนของชีวิตบุคคลเพื่อให้ผู้อ่านทราบ โดยเฉพาะคุณสมบัติ หรือผลงานเด่นที่ทำให้บุคคลนั้นมีชื่อเสียง ประสบความสำเร็จในชีวิต เพื่อชื่นชม ยกย่อง เจ้าของประวัติ และชี้ให้ผู้อ่านได้แง่คิดเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จ
8.  บทความครบรอบปี  มีเนื้อหาแนวบรรยาย เล่าเรื่อง เกี่ยวกับเรื่องราว เหตุการณ์ พิธีการในเทศกาลหรือวันสำคัญ เช่น วันสำคัญทางศาสนา ทางประวัติศาสตร์ ทางวัฒนธรรม  เกี่ยวกับบุคคลสำคัญ เป็นต้น ที่ประชาชนสนใจเมื่อโอกาสนั้นมาถึง เช่น  วันวิสาขบูชา วันคริสต์มาส
เป็นต้น
9.  บทความให้ความรู้ทั่วไป  ผู้เขียนจะอธิบายให้ความรู้คำแนะนำในเรื่องทั่วๆ ไปที่ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น มารยาทการเข้าสังคม การแต่งกายให้เหมาะแก่กาลเทศะและบุคลิกภาพ เคล็ดลับการครองชีวิตคู่ เป็นต้น
10.  บทความเชิงธรรมะ  จะอธิบายข้อธรรมะให้ผู้อ่านทั่วๆ ไปเข้าใจได้ง่าย หรือให้คติ ให้แนวทางการดำเนินชีวิตตามแนวพุทธศาสนา เสนอหนทางแก้ปัญหาตามแนวพุทธปรัชญา ปัจจุบันบทความลักษณะนี้มีมากขึ้น เพื่อให้ผู้อ่านมีแนวทางการดำเนินชีวิตในสังคมที่วิกฤตได้อย่างปกติสุขมากขึ้น

11.  บทความวิชาการ  มีเนื้อหาแสดงข้อเท็จจริง ข้อความรู้ทางวิชาการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะ ผู้เขียนอาจจะเสนอเฉพาะเนื้อหาสาระทางวิชาการหรือเสนอทั้งเนื้อหาสาระข้อเท็จจริง และแสดงความคิดเห็นในเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์ก็ได้ หรืออาจเสนอผลการวิจัย

ที่มา : http://courseware.payap.ac.th/docu/th203/content/aticle.htm

การใช้ภาษาในการเขียนบทความ

การใช้ภาษาในการเขียนบทความ
การใช้ภาษาในการเขียนบทความควรพิจารณาใน ประเด็น ได้แก่
1.  ระดับภาษา
การเขียนบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ควรพิจารณาใช้ระดับภาษาทั้ง 4 ระดับ ได้แก่ ภาษาปาก ภาษาไม่เป็นทางการ ภาษากึ่งทางการ และภาษาทางการ โดยผู้เขียนจะต้องเลือกใช้ระดับภาษาให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายของผู้เขียน ประเภทของบทความ เนื้อหา และกลุ่มผู้อ่านเช่น กรณีที่เขียนบทความแสดงความคิดเห็นทั่วๆ ไป บทความวิเคราะห์ข่าว บทความวิเคราะห์ ควรใช้ภาษาพูดในระดับไม่เป็นทางการ จนถึงภาษาพูดและภาษาเขียนระดับกึ่งทางการ หากมีบางตอนหรือบางข้อความที่ต้องการแสดงอารมณ์ ประชดประชัน เหน็บแนม อย่างชัดเจน อาจจะใช้ภาษาพูดระดับภาษาปาก ที่ไม่หยาบคายก็ได้
กรณีเขียนบทความให้ความรู้ทั่วไป บทความสารคดีท่องเที่ยว ควรใช้ภาษาพูดในระดับภาษาปาก เพื่อให้เกิดความเป็นกันเองกับผู้อ่าน จูงใจให้ผู้อ่านอยากอ่านและปฏิบัติตามคำแนะนำ หรืออาจจะใช้ภาษาพูดในระดับไม่เป็นทางการ หรือกึ่งทางการ ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของบทความ และกลุ่มผู้อ่านอีกด้วย
กรณีเขียนบทความสัมภาษณ์ ควรใช้ภาษาให้เหมาะสมกับผู้ให้สัมภาษณ์ และเรื่องราวที่สัมภาษณ์ รวมทั้งกลุ่มผู้อ่าน ผู้เขียนจึงสามารถเลือกใช้ระดับภาษาได้ตั้งแต่ ภาษาพูดระดับภาษาปาก จนถึงภาษาเขียนระดับทางการ
กรณีเขียนบทความกึ่งชีวประวัติ บทความวิจารณ์วรรณกรรม บทความวิจารณ์ศิลปะแขนงอื่นๆ ซึ่งต้องการความน่าเชื่อถือ และให้เกียรติแก่งานวรรณกรรมหรือศิลปะ จึงควรใช้ภาษาระดับกึ่งทางการ จนถึงภาษาในระดับทางการ
กรณีเขียนบทความเชิงธรรมะ และเชิงวิชาการ ควรใช้ภาษาเขียนกึ่งทางการจนถึงระดับทางการ เพื่อให้เกิดความชัดเจน น่าเชื่อถือ
อย่างไรก็ตาม หากผู้เขียนต้องการสร้างเอกลักษณ์ หรือลีลาการเขียนเฉพาะตน ก็สามารถเลือกใช้ระดับภาษาได้ตามความต้องการของตนเอง
2.  โวหาร
กรณีเขียนบทความแสดงความคิดเห็นทั่วไป บทความวิเคราะห์ข่าว บทความวิเคราะห์ปัญหา ควรใช้บรรยายโวหารเป็นหลัก มีโวหารประกอบ เช่น อุปมาโวหาร สาธกโวหาร เทศนาโวหาร เป็นต้น เพื่อแสดงเหตุผลโน้มน้าวใจผู้อ่าน
กรณีเขียนบทความให้ความรู้ทั่วไป ควรเลือกใช้บรรยายโวหารเป็นหลัก มีโวหารประกอบได้แก่ สาธกโวหาร เพื่อให้เกิดความชัดเจนแจ่มแจ้ง
กรณีเขียนบทความสารคดีท่องเที่ยว บางตอนควรเลือกใช้พรรณนาโวหาร เพื่อให้เห็นความงดงามของทัศนียภาพ นอกเหนือจากการใช้บรรยายโวหาร ส่วนโวหารประกอบได้แก่ อุปมาโวหาร สาธกโวหาร กรณีที่ต้องการเล่าเกร็ดความรู้ ตำนาน นิทานต่างๆ ประกอบสถานที่
กรณีเขียนบทความสัมภาษณ์ บทความกึ่งชีวประวัติ บทความวิจารณ์วรรณกรรม หรือศิลปะแขนงอื่นๆ  บทความวิชาการ ควรเลือกใช้บรรยายโวหารเป็นโวหารหลัก ส่วนโวหารประกอบได้แก่ สาธกโวหาร
กรณีเขียนบทความเชิงธรรมะ ควรเลือกใช้บรรยายโวหารเป็นโวหารหลัก ส่วนโวหารประกอบได้แก่ เทศนาโวหาร อุปมาโวหาร และสาธกโวหาร
3.  ภาพพจน์
การเขียนบทความควรเลือกใช้ภาพพจน์เพื่อสร้างภาพให้เกิดในความคิด ตลอดจนเพื่อก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ หรือความรู้สึกของผู้อ่าน รวมทั้งแสดงอารมณ์ ความรู้สึกอย่างแท้จริงของผู้เขียน ภาพพจน์จะทำให้งานเขียนมีอรรถรสมากขึ้น และแสดงลีลาการเขียนของผู้เขียนแต่ละคน บทความทุกชนิดสามารถใช้ภาพพจน์ได้ตามความเหมาะสม เช่น
บทความแสดงความคิดเห็นทั่วไป บทความวิเคราะห์ข่าว บทความวิเคราะห์ปัญหา มักจะใช้การอุปมา อุปลักษณ์ ปฏิภาคพจน์ อติพจน์ ปฏิปุจฉา นามนัย เป็นต้น
บทความสารคดีท่องเที่ยว มักจะเลือกใช้ภาพพจน์เช่น อุปมา อุปลักษณ์ บุคลาธิษฐาน อติพจน์ สัญลักษณ์ เป็นต้น
ส่วนบทความชนิดอื่นๆ มักจะเลือกใช้การอุปมา อุปลักษณ์ ปฏิปุจฉา เป็นต้น แต่บทความวิชาการมักจะไม่ใช้ภาพพจน์ในการเขียนบทความประเภทนี้ เพราะต้องการแสดงข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา ชัดเจน มากกว่าจะให้เกิดภาพ หรืออรรถรส


ที่มา : http://courseware.payap.ac.th/docu/th203/content/aticle.htm

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การเตรียมเขียนสารคดี

การเตรียมเขียนสารคดี
1. เตรียมแนวคิด
  -สร้างแนวคิดจากการอ่าน
  -สร้างแนวคิดจากผู้คน
  -ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลสำคัญ
   -จำกัดขอบเขตความคิดให้แคบ
   -จัดระบบความคิดอย่างเป็นขั้นตอน
2. เลือกประเด็นเรื่องทีจะเขียน
   -อาจเป็นปัญหาหรือไม่ก็ได้ อาจเกิดจากเรื่องสะเทือนใจ ความประทับใจ การยกย่องและต้องการเผยแพร่ หรือมุ่งให้ความรู้รอบด้านเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ
   -อยู่ในความสนใจของเรา
   -ประเด็นไม่กว้างหรือแคบเกินไป
   -มีผลกระทบต่อสังคมหรือไม่
3. การเตรียมข้อมูล
   -ข้อมูลคือหัวใจสำคัญของสารคดีเพราะสารคดีมุ่งเสนอข้อเท็จจริงและความรู้เป็นหลัก สารคดีอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ดังนั้นข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญในการเขียนสารคดี 

   -ได้ข้อมูลมาจากเอกสาร ภาคสนาม การฟัง การอ่าน การสังเกต การสัมภาษณ์

ขั้นตอนการเขียนบทสารคดี

ขั้นตอนการเขียนบทสารคดี
 1. หาข้อมูลในเรื่องที่ต้องการทำก่อน  หาข้อมูลในแนวที่เราจะทำ เขาเรียกทำการบ้าน หลายคนไม่ทำการบ้านไปตายเอาดาบหน้า คือไปสัมภาษณ์สถานที่จริง แล้วจับประเด็นตรงนั้นเลย ถามว่าทำได้ไหมทำได้  ไม่ผิดกติกา มีบางครั้งที่เมื่อไปถึง ผู้จะไปสัมภาษณ์กลับถูกสัมภาษณ์เสียเอง คือผู้ที่จะให้สัภาษณ์ถามทีมงานว่า 
      -ก่อนจะมาที่นี่รู้อะไรเกี่ยวกับตัวผมบ้าง หรือขอดูสมุดที่คุณจดอยู่ว่ามีเนื้อหาอะไรบ้างถ้าผู้ให้สัมภาษณ์เป็นปราชญ์มีความรู้ระดับครู เขาอาจไล่ตะเพิดคุณออกจากบ้านเดี๋ยวนั้นเลย ถือว่าคุณไม่ให้เกียรติคนถูกสัมภาษณ์ ไม่ทำการบ้านมาแล้วจะเอาอะไรมาถาม รวมถึงงานที่เสร็จ จะออกมาดีได้อย่างไร?  และอีกอย่าง จะไปสัมภาษณ์ใครต้องน้อบน้อมและสัมมาคาราวะให้มากๆ ที่เขาอุตสาห์สละเวลาอันมีค่ามานั่งให้เราถ่ายทำรายการจะให้เขาทำอะไรพูดจาให้ดี อย่าใช้คำถามเหมือนดูถูก 
2. ไปสถานที่จริงหาข้อมูลจริง ว่าตรงกับที่เรารู้เข้าใจมาหรือไม่? เนื่องจากข้อมูลเดิมที่เราหามาอาจเก่าไปใช้ไม่ได้หรือแหล่งข่าวที่เราค้นคว้า นำเสนอข้อมูลผิดก็ลองสอบถามพูดคุยผู้ถูกสัมภาษณ์ดูว่าตรงไหนใช้ได้หรือไม่ หรือต้องการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมตรงไหน  แล้วก็ปรับจูนข้อมูลเก่าและใหม่ให้เป็นเรื่องเดียวกัน   
3.  เรียงลำดับความสำคัญที่สุด 100% ไล่เลียงไปจนถึงสำคัญน้อยสุด 
  -  สำคัญสุด ควรที่จะให้ผู้สัมภาษณ์พูด รู้ได้อย่างไร วิธีคิดง่ายมาก เนื้อหาประโยคนี้ถ้าผู้ให้สัมภาษณ์พูดเทียบกับเราเป็นคนพูด คิดว่าคนดูจะเชื่อใครมากกว่ากัน ถ้ารู้สึกว่าใครพูดก็ดีไม่สู้ เท่ากับตัวเขาที่พูดเอง ก็ยกช่วงนี้ให้พระเอกไปเสียดีๆอย่าได้เข้าไปแย่งซีนเป็นอันขาด
  -  
สำคัญน้อยสุดควรพูดเอง( เขียนบทเอง) ก็คัดจากเนื้อหาที่เหลือข้างต้น ที่ดูแล้วว่า ใครๆก็พูดได้ แล้วความหมายไม่เสีย
 -  
สำหรับบทของพิธีกรก็เป็นเสมือนตัวแทนทางบ้าน ถามทุกเรื่องที่อยากรู้อยากเห็น ถามนั่นถามนี่ในส่วนที่ตอบไม่ชัดเจน 
     รวมถึงคอยสรุปประเด็นต่างๆให้ทางบ้านได้เข้าใจไม่สับสน

ที่มา: http://www.thaidfilm.com/read.php?tid=16896

หลักการเขียนบทสารคดี

 หลักการเขียนบทสารคดี
 1. การเลือกเรื่อง   เรื่องที่นำมาเขียนเป็นสารคดี  จะต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจ  หรือทันสมัย  หากเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป  หรือเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต  ก็ควรนำเสนอให้น่าสนใจด้วยมุมมองที่แปลกใหม่  มีประโยชน์แก่ผู้อ่าน  และมุ่งนำเสนอข้อเขียนที่เป็นความรู้  ความคิดจากเรื่องจริง  เหตุการณ์จริง  และจะต้องเขียนให้อ่านเพลิดเพลิน  มีอรรถรส
 2. การตั้งชื่อเรื่อง  ควรตั้งชื่อเรื่องให้ผู้อ่านเกิดความสนใจ  สะดุดหู  สะดุดตา  ควรเป็นชื่อที่เข้ายุคเข้าสมัยในปัจจุบัน  ควรหาคำที่มีความหมายกว้าง ๆ  เพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหา  แต่ชื่อเรื่องต้องตรงกับเนื้อหาด้วย  แนวทางการตั้งชื่อเรื่อง
                          -  แบบชี้นำเนื้อหา  โดยการนำความสำคัญของเนื้อหามาสรุปเป็นความคิดรวบยอดเช่น  ครูไทย...ภารกิจที่ไม่มีวันเสร็จสิ้นยาบ้ามหาภัย
                          -  แบบสำบัดสำนวน  นำสำนวนแปลก ๆมาใช้ เช่น  แสนแสบแสบสยิว  สยึ๋มกึ๋ย                          
                          -  แบบคนคุ้นเคย  เหมือนผู้เขียนคุ้นเคยกับผู้อ่าน  เช่น  มาช่วยกันป้องกันเหตุร้ายกันเถอะ  การอยู่ร่วมกันในหมู่บ้านจัดสรร                         
 
                          -  แบบคำถาม  เช่น  จริงหรือที่เขาว่าหัวหินสิ้นมนต์ขลัง                      
                          -  แบบชวนฉงน  เช่น  ตายแล้วฟื้น,   ตายแล้วไป....                      

 3.กำหนดจุดมุ่งหมายและแนวคิดสำคัญ    การกำหนดจุดมุ่งหมายอาจตั้งคำถามว่าต้องการเขียนให้ใครอ่าน ต้องการให้ผู้อ่านคิด/ ทำอย่างไร  ผู้เขียนต้องกำหนดแนวคิดให้ชัดเจนว่า  สารคดีเรื่องนี้ต้องการจะเสนอแนวคิดสำคัญอะไร  มีแก่นเรื่องอะไรนำเสนอแก่ผู้อ่าน  เพื่อจะได้นำเสนอเนื้อหาถ่ายทอดถ้อยคำหรือประโยคต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่แก่นเรื่องนั้น
 4.การหาข้อมูล  แหล่งความรู้ที่ใช้ประกอบการเขียนสารคดี  ได้แก่  หนังสือ  สารานุกรม  นิตยสาร  วารสาร  วิทยุ  โทรทัศน์  อินเทอร์เน็ต  การสัมภาษณ์  การสนทนา  และการเก็บข้อมูลภาคสนาม  เป็นต้น
 5.การวางโครงเรื่อง  ผู้เขียนต้องวางโครงเรื่องก่อนเขียน  เพื่อเป็นแนวทางในการเขียน  ว่าจะนำเสนอสาระสำคัญ  แยกเป็นกี่ประเด็น  ประเด็นใหญ่ ๆ มีอะไรบ้าง  ในประเด็นหลักมีประเด็นย่อย ๆ  มีตัวอย่าง  มีเหตุผล  เพื่อสนับสนุนประเด็นหลักอย่างไรบ้าง  การวางโครงเรื่องจะช่วยให้เขียนเรื่องได้โดยง่าย  ไม่สับสน  วกวน  นอกเรื่อง  ทำให้เรื่องมีเอกภาพ  มีลำดับต่อเนื่องกัน  และได้เนื้อความครบถ้วน
 6.การลงมือเขียน  สารคดีมีองค์ประกอบเช่นเดียวกับความเรียงทั่วไป  คือ
    ความนำ / การเปิดเรื่อง   
        เป็นการเปิดเรื่องบอกกล่าวให้ผู้อ่านรู้ก่อนว่าจะเขียนอะไร  เพื่อชักจูงให้ผู้อ่านสนใจ  การขึ้นความนำอาจทำได้หลายประการ  เช่น
แบบสรุปเนื้อหาให้ผู้อ่านรู้ว่า  ใคร  ทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อไร  ทำไม
ขึ้นต้นจากชื่อเรื่องซึ่งเป็นเนื้อหาหลัก
เรื่องในสังคมที่คนกำลังสนใจ                                   
คำพูดของบุคคลสำคัญ
เล่าเรื่องลักษณะคล้ายนิทานแล้วโยงเข้าหาเนื้อเรื่อง
เหตูการณ์สำคัญในเรื่อง                               
ยกสุภาษิต  คำพังเพย  กวี  นิพนธ์  คำคม
ใช้ประโยคสำคัญ  ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องมากล่าว
ใช้คำถาม                                                    
ยกเหตุการณ์เปรียบเทียบ
พรรณนา                                                    
ย้อนอดีต  โยงเข้าสู่เหตุการณ์ปัจจุบัน
                                 
    -  เนื้อเรื่อง / การดำเนินเรื่อง                          
        กลวิธีการดำเนินเรื่องของสารคดีอาจเป็นการเล่าเรื่องผ่านมุมมองของผู้เขียน  หรือมีการแทรกบทสนทนา  หรือบทสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง  ผู้เขียนต้องสอดแทรกความคิดเห็นของตนในเนื้อเรื่องด้วย  เนื้อเรื่องต้องมีส่วนที่เป็นใจความหลัก และส่วนขยายความให้เนื้อหาชัดเจนขึ้น  เช่น  การเสนอข้อมูลแสดงสถิติ  แสดงการเปรียบเทียบ  ตัวอย่างประกอบ  แต่อย่าให้มากเกินไป
    -  ความลงท้าย / การปิดเรื่อง
        เป็นส่วนทำให้ผู้อ่านประทับใจ  ควรเขียนให้กะทัดรัดจับใจผู้อ่าน  โดยการสรุปข้อมูล  ข้อคิด แสดงข้อคิดเห็น  คำแนะนำ  วิธีแก้ปัญหาของผู้เขียน  อย่างสร้างสรรค์  โน้มน้าวให้เกิดความร่วมมือ  สรุปให้เกิดความตระหนัก
7.การใช้ภาษา  ควรใช้ภาษาที่ชัดเจน  ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์  เพราะจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย  หากเป็นการใช้ศัพท์เฉพาะหรือภาถิ่นควรอธิบายความหมายไว้ด้วย  นอกจากนี้ควรใช้โวหาร  สำนวน  ภาพพจน์  ตลอดจนระดับภาษาให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง  จะเขียนแบบพรรณนา  บรรยาย  อธิบาย  หรือ โน้มน้าว ก็ได้       
8.ความยาวของสารคดี  ไม่ควรมีความยาวมากเกินไป  เพราะสารคดีมีลักษณะเป็นบทเป็นตอน  ไม่ใช่ตำราหรือหนังสืออ้างอิง  จึงควรมีความยาวในการอ่านประมาณ  ๑๕  นาที
9.การสร้างลีลาการเขียนเฉพาะตัว  แต่ละคนมีลักษณะและลีลาการเขียนที่แตกต่างกัน  จะเลือกแบบใดก็ได้  แต่อย่าลืมว่าผู้เขียนได้ดีต้องเป็นนักอ่านที่ดีมาก่อน  แล้วจึงเลือกหาแนวถนัดของตนเองโดยไม่เลียนแบบผู้อื่น
10.ทบทวนและปรับปรุง  เมื่อจบเรื่องควรทบทวนดูสาระของเรื่องว่าตรงกับชื่อเรื่องที่ตั้งไว้หรือไม่  จากนั้นอ่านตรวจทานอีกครั้ง  หรือถ้าได้เก็บเรื่องที่เขียนไว้สัก    วัน แล้วนำกลับมาอ่านตรวจอีกครั้งหนึ่ง  ก็จะยิ่งดี     
ที่มา : http://sirimajan.exteen.com/20120618/entry

ข้อคำนึงการเขียนบทสารคดี

ข้อคำนึงการเขียนบทสารคดี

 การเขียนบทจะให้สมบูรณ์นั้น ผู้เขียนบทจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ในการเขียนบท 
1. แนวคิดหลัก (Idea & Main Idea) เป็นเสมือน โครงหรือแก่นของเรื่องนั้นๆ ผู้เขียนบทจะต้องจับ หรือดึงเอาข้อมูลหรือเนื้อหาบางอย่างมาเป็นแกนของเรื่องให้ได้ 
2. การเลือกเรื่องผู้เขียนและผู้จัดรายการบทความต้องพิจารณาว่า บทความควรจะเป็นเรื่องอะไร ที่ส่วนใหญ่สนใจ เหตุผลที่จะเขียนเรื่องนั้น ตั้งประเด็นให้แน่นอนลงไปว่าจะเขียนเพื่อจุดประสงค์อะไร สนับสนุนหรือคัดค้านอะไร หรือเพียงแต่ให้ข้อเท็จจริงแล้วเขียนให้อยู่ในประเด็น  
3. การศึกษาค้นคว้า เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์และวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายแล้วผู้เขียนบทต้องศึกษาค้นคว้าวิจัย รวบรวมข้อมูล เนื้อหาสาระต่างๆ มาวิเคราะห์แยกย่อยหัวเรื่องประเด็น กำหนดขอบเขตเนื้อหา ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย การค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น  คุณภาพของบทจะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าบทนั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม โดยซักถามจากนักวิชาการที่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ ค้นคว้าจากห้องสมุดหรือเอกสารสิ่งพิมพ์ที่จัดเก็บเอาไว้ เสร็จแล้วก็ลำดับเรื่องก่อนหลังตามความส าคัญของเหตุการณ์หรือเวลา  4. การจัดลำดับข้อมูลหรือเนื้อหา การจัดทำลำดับเนื้อหา เรื่องราวของบทเรียน เป็นการนำกรอบเนื้อหา ที่แบ่งออกเป็นเฟรมๆ ตั้งแต่เฟรมแรกจนถึงเฟรมสุดท้าย นำมาลำดับเรื่องก่อนหลังตามความสำคัญของเหตุการณ์หรือเวลา การจัดลำดับเนื้อหาต้อง เข้าใจได้ง่าย ไม่สับสน วกวน หรือยืดยาว ประโยคแต่ละประโยคควรมีแนวความคิดเดียว เป็นประโยคสั้นๆ ที่มีความหมายจบในประโยคนั้น แต่เพื่อความน่าฟังควรจะสลับกับประโยคยาวบ้าง ตามแต่ความสำคัญของใจความ  
5. ความยาว สิ่งที่จำเป็นอีกประการหนึ่งสำหรับผู้เขียนบท ก็คือต้องทราบว่าเวลาสำหรับนำเสนอรายการนั้นมีระยะเวลาเท่าไร ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องเข้าใจถ่องแท้ เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของสื่อ ที่เกี่ยวกับเวลาด้วยแล้วจึงกำหนดรูปแบบของรายการ
6. การวางเค้าโครงเรื่องมีจุดประสงค์เพื่อให้งานชิ้นที่เขียนมีจุดหมายที่แน่นอนไม่วกเวียนออกนอกเรื่อง ทำให้วางแนวในการเขียนได้ถูกต้องและทำให้เขียนบทความตามที่ต้องการได้เร็วขึ้น และกำหนดบทนำ ตัวเรื่องและการจบให้มีหลักเกณฑ์ที่ดี 


ที่มา : https://sites.google.com/site/chaipon4256/khwam-ru-keiyw-kab-kar-kheiyn-bth-beuxng-tn

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ระบบสื่อสารข้อมูล สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบสื่อสารข้อมูล สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์



3.1 ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
       ระบบการโอนถ่ายข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางหรือปลายทางโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง







3.2 องค์ประกอบระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 

3.2.1 ข่าวสาร (Message) เป็นข้อมูลรูปแบบต่างๆ
3.2.2 ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
3.2.3 สื่อหรือตัวกลาง (Media) เป็นสื่อหรือช่องทาง ที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง
3.2.4 ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
3.2.5 กฎ ข้อตกลง ระเบียบวิธีการรับส่ง(protocol)

3.3 สื่อหรือตัวกลางของระบบสือสารข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์ 

3.3.1 สื่อหรือตัวกลางประเภทมีสาย
3.3.1.1 สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) มี 2 ชนิด คือ
ก) สายคู่บิดเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshielded Twisted Pair : UTP)





ข) สายคู่บิดเกลียวมีฉนวนหุ้ม (Shielded Twisted Pair :STP)




3.3.1.2 สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นสื่อกลางที่มีส่วนของสายส่งข้อมูลเป็นลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยพลาสติก ส่วนชั้นนอกหุ้มด้วยโลหะหรือฟอยล์ถักเป็นร่างแหเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน









3.3.1.3 สายใยแก้วนำแสง (Fiber-optic cable) เป็นสื่อกลางที่ใช้ส่งข้อมูลในรูปแบบของแสง




3.3.2 สื่อหรือตัวกลางประเภทไร้สาย
3.3.2.1 คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูง ส่งข้อมูลโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟซึ่งเป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลกันมากๆ หรือพื้นที่ทุรกันดาร
3.3.2.2 ดาวเทียม (Satellite) ในการส่งสัญญาณดาวเทียมนั้น จะต้องมีสถานีภาคพื้นดินคอยทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียม
3.3.2.3 แอคเซสพอยต์ (Access Point)





3.4 ความหมายเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ รวมถึงใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกัน

3.5 ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
3.5.1 การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Resources Sharing) หมายถึง การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน
3.5.2 การแชร์ไฟล์ เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้ว การใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
3.5.3 สามารถบริหารจัดการทำงานคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management)
3.5.4 สามารถทำการสื่อสารกันในเครือข่าย (Communication) ได้หลายรูปแบบ
3.5.5 มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบนเครือข่าย (Network Security)

3.6 ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์       
3.6.1 เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภาพในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ




3.6.2 เครือข่ายเมือง (Metropolises Area Network :MAN) เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ MAN



3.6.3 เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network : WAN) เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานนีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม



3.6.4 เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้






3.7 รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย (network topology)      
3.7.1 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (bus network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่ปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Terminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใด เครื่องหนึ่ง เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย การรับส่งสัญญาณบนสายสัญญาณต้องตรวจสอบสายสัญญาณ BUS ให้ว่างก่อน จึงจะสามารถส่งสัญญาณไปบนสาย BUS ได้


3.7.2 การเชื่อต่อเครือข่ายแบบวงแหวน (ring network) การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้


3.7.3 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว (Star network) เป็นการเชื่อมต่อสายสื่อสารจากคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องไปยังฮับ (hub) หรือ สวิตช์ (switch) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สลับสายกลางแบบจุดต่อจุดเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อสื่อสารถึงกัน


3.7.4 เครือข่ายแบบ Hybrid เป็นการเชื่อมต่อที่ผสมผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกัน


3.8 อุปกรณ์เครือข่าย


3.8.1 ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทวนและขยายสัญญาณเพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่นให้ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนและหลังการรับส่งและไม่มีการใช้ซอฟแวร์ใด ๆ มาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้ การติดตั้งทำได้ง่าย


3.8.2 โมเด็ม (modem) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาล็อก(Analog signal)ให้เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital Signal)และในทางกลับกันก็แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอนาล็อก


3.8.3 การ์ด LAN (Network Interface Card – NIC) เป็นการ์ดสำหรับต่อเครื่องพีซีเข้ากับสาย LAN


3.8.4 สวิตช์ (Switching) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางในระบบเครือข่ายคล้ายHubแต่ต่างกันในเรื่องของกรทำงานและความเร็ว คือ แต่ละช่องสัญญาณ (port) จะใช้ความเร็วเป็นอิสระต่อกันตามมาตรฐานความเร็ว

3.8.5 เราท์เตอร์ (router) เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายหลายเครือข่ายที่มีขนาดต่างกันหรือใช้มาตรฐานการส่งผ่านข้อมูล (Transmission) ต่างกันสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้



3.9 โปรโตคอล (Protocol) โปรโตคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้เหมือนกับมนุษย์ที่ใช้ภาษาเดียวกันในการสื่อสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน


OSI Model


  3.10 ชนิดของโปรโตคอล 

3.10.1 ทีซีพีหรือไอพี (TCP/IP) โปรโตคอล TCP/IP  มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายตามการขยายตัวของอินเทอร์เนท/อินทราเนท มีโปรโตคอลประกอบกันทำงาน 2 ตัว คือ TCP และ IP






3.10.2 เอฟทีพี (FTP) ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนและจัดการไฟล์บนเครือข่ายทีซีพี/ไอพี ใช้การเชื่อมต่อสำหรับส่วนข้อมูลและส่วนควบคุมแยกกันระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย โปรแกรมประยุกต์เอฟทีพีเริ่มแรกโต้ตอบกันด้วยเครื่องมือรายคำสั่ง สั่งการด้วยไวยากรณ์ที่เป็นมาตรฐาน แต่ก็มีการพัฒนาส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ขึ้นมาสำหรับระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อปที่ใช้กันทุกวันนี้ เอฟทีพียังถูกใช้เป็นส่วนประกอบของโปรแกรมประยุกต์อื่นเพื่อส่งผ่านไฟล์โดย อัตโนมัติสำหรับการทำงานภายในโปรแกรม




3.10.3 เอชทีทีพี (HTTP) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสมใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ การพัฒนาเอชทีทีพีเป็นการทำงานร่วมกันของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) และคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) ซึ่งมีผลงานเด่นในการเผยแพร่เอกสารขอความเห็น (RFC) หลายชุด เอกสารที่สำคัญที่สุดคือ RFC 2616 (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542) ได้กำหนด HTTP/1.1 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กัน





3.10.4 เอสเอ็มทีพี (SMTP) เป็นโพรโทคอลสำหรับส่งอีเมลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
SMTP เป็นโพรโทคอลแบบข้อความที่เรียบง่าย ทำงานอยู่บนโพรโทคอล TCP พอร์ต 25 ในการส่งอีเมลไปยังที่อยู่ที่กำหนด จำเป็นต้องใช้ค่า MX (Mail eXchange) ของ DNS
ปัจจุบันมี mail transfer agent กว่า 50 โปรแกรมที่สามารถใช้ SMTP ได้ โดยมีโปรแกรม Sendmail เป็นโปรแกรมแรกที่นำ SMTP ไปใช้ โปรแกรมตัวอื่นได้แก่ Postfix, qmail และ Microsoft Exchange เป็นต้น






3.10.5 พีโอพีทรี (POP3) เป็นโปรโตคอล client/sever ที่รับ e-mail แล้วจะเก็บไว้ในเครื่องแม่ข่าย Internet เมื่อผู้ใช้ตรวจสอบ mail-box บนเครื่องแม่ข่ายและ ดาวน์โหลดข่าวสาร POP3 ติดมากับ Net manager suite ของผลิตภัณฑ์อินเตอร์เน็ต และ e-mail ที่ได้รับความนิยมคือ Eudora และติดตั้งอยู่ใน browser ของ Netscope และ Microsoft Internet Explorer
โปรโตคอลตัวเลือกอีกแบบ คือ Internet Message Access Protocol (IMAP) โดยการใช้ IMAP ผู้ใช้จะดู e-mail ที่เครื่องแม่ข่าย เหมือนกับอยู่ในเครื่องลูกข่าย และ e-mail ในเครื่องลูกข่ายที่ถูกลบ จะยังคงมีอยู่ในเครื่องแม่ข่าย โดย e-mail สามารถเก็บและค้นหาที่เครื่องแม่ข่าย
POP สามารถพิจารณาเป็นการบริการแบบ "store-and forward" IMAP สามารถพิจารณาเครื่องแม่ข่าย remote file server
POP และ IMAP เกี่ยวข้องกับการรับ e-mail และอย่าสับสนกับ Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) ซึ่งเป็นโปรโตคอล สำหรับการส่ง e-mail ข้ามอินเตอร์เน็ต การส่ง e-mail ใช้ SMTP และการอ่านใช้ POP3 หรือ IMAP
หมายเลขและพอร์ต สำหรับ POP3 คือ 110








3.11 การถ่ายโอนข้อมูล

3.11.1 การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน (Parallel transmission) ทำได้โดยการส่งข้อมูลออกมาทีละ 1 ไบต์ หรือ 8 บิต จากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ ตัวกลางระหว่างสองเครื่องจึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย 8 ช่องทาง เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านโดยมากจะเป็นสายสัญญาณแบบขนาน ระยะทางของสายสัญญาณแบบขนานระหว่างสองเครื่องไม่ควรยาวเกิน 100 ฟุต

3.11.2 การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม (Serial transmission)


3.12 การถ่ายโอนข้อมูลแบบนุกรม อาจจะแบ่งตามรูปแบบรับ-ส่ง ได้ 3 แบบคือ
3.11.2 สื่อสารทางเดียว (simplex) ข้อมูลส่งได้ทางเดียวเท่านั้น บางครั้งก็เรียกว่า การส่งทิศทางเดียว (unidirectional data bus) เช่น การส่งข้อมูลไปยังเครื่องพิมพ์ การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ เป็นต้น
3.11.2 สื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half duplex) ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองสถานี แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับ จะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้ เช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจ เป็นต้น
3.11.2 สื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full duplex) ทั้งสองสถานีสามารถรับและส่งได้ในเวลาเดียวกัน เช่น การสนทนาทางโทรศัพท์เป็นต้น